วันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ประวัติความเป็นมาของเครื่องคอมพิวเตอร์

ประวัติความเป็นมาของเครื่องคอมพิวเตอร์
เครื่องคอมพิวเตอร์นับได้ว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีความสลับซับซ้อน ( Conplexity ) น่าอัศจรรย์ที่มีความสามารถยิ่ง ซึ่งนับวันจะสูงขึ้นด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาก้าวไปอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับอดีต คอมพิวเตอร์นับว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีประวัติศาสตร์อันน่าศึกษา เริ่มจากเดิมมนุษย์ดำเนินชีวิตโดยไม่มีการบันทึก จนกระทั่งการพาณิชย์มีการพัฒนาขึ้น พ่อค้าชาวแบบีลอน (Babylonian) ได้มีการจดบันทึกข้อมูลต่างๆ ลงบน clay tablets สำหรับการคำนวณ อุปกรณ์คำนวณในยุคแรกได้แก่ ลูกคิด ซึ่งปัจจุบันก็ยังมีใช้อยู่
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2185 นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส Blaise Pascal ได้สร้างเครื่องกลสำหรับการคำนวณชื่อ pascaline ในปี พ.ศ. 2215 Gottfried Von Leibniz นักคณิตศาสตร์ชาวเยอร์มันได้พัฒนา pascaline โดยสร้างเครื่องที่สามารถ บวก ลบ คูณ หาร และถอดรากได้ แต่ก็ไม่มีผู้ใดทราบว่ามีความแม่นยำขนาดไหน ต่อมาในปี พ.ศ. 2336 นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ Chales Babbage ได้สร้างดิฟเฟอเรนซ์แอนจิน difference engine ที่มีฟังก์ชันทางตรีโกณมิติต่างๆ โดยอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์ และคิดว่าจะสร้างแอนะลีติคอลเอนจิน (analytical engine ) ที่มีหลักคล้ายเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไปในปัจจุบัน จึงมีผู้ยกย่องว่าเป็นบิดาของคอมพิวเตอร์และเป็นผู้ริเริ่มวางรากฐานคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน
ปี พ.ศ. 2439 Herman Hollerith ได้คิดบัตรเจาะรูและเครื่องอ่านบัตร จนกระทั่วในปี พ.ศ. 2480 Howard Aiken สร้าง automatic calculating machine เพื่อเชื่อมโยงเทคโนโลยีทั้งทาง electrical และ mechanical เข้ากับบัตรเจาะรูของ Hollerith ด้วยความช่วยเหลือของนักศึกษาปริญญาและวิศวกรรมของ IBM สำเร็จในปี พ.ศ. 2487 โดยใช้ชื่อว่า MARK I การทำงานภายในตัวเครื่องถูกควบคุมอย่างอัตโนมัติด้วย electromagnetic relays และ arthmetic counters ซึ่งเป็น mechanical ดังนั้น MARK I จึงนับเป็น electromechanical computers และต่อมา Dr. John Vincent Atanasoff และ Clifford Berry ได้สร้างเครื่อง ABC ( Atanasoft-Berry Computer ) โดยใช้หลอดสูญญากาศ ( vacuum tubes) และในปี พ.ศ. 2483 Dr.John W. Mauchy และ J. Presper Eckert Jr. พัฒนาเพิ่มเติมบนหลักการออกแบบพื้นฐานของ Dr. Atanasoff เพื่อสร้าง electronic computer เครื่องแรกชื่อ ENIAC แต่ยังไม่เป็นคอมพิวเตอร์ชนิดเก็บโปรแกรมได้ ( stored program ) จึงได้รับการพัฒนาเป็นเครื่อง EDVAC ซึ่งอาศัยหลักการ stored program สมบูรณ์และได้มีการพัฒนาเป็นเครื่อง EDSAC และพัฒนาเป็นเครื่อง UNIVAC ( Universal Automatic Computer ) ในที่สุด
ถ้าจะจำแนกยุคของคอมพิวเตอร์ ( Computer generations ) โดยแบ่งตามเทคโนโลยีของตัวเครื่องกับเทคโนโลยีการเก็บข้อมูลแล้วก็จะพอจะพิจารณาได้คือ
ยุคแรก ใช้เทคโนโลยีของหลอดสูญญากาศ เป็นแบบบัตรเจาะรู
ยุคที่สอง ใช้เทคโนโลยีของทรานซิสเตอร์เป็นแบบเทป ลักษณะเป็นกรรมวิธีตามลำดับ ( Sequential Processing )
ยุคที่สาม ใช้เทคโนโลยีของไอซี (integrated circuit, IC) เป็นแบบจานแม่เหล็กลักษณะเป็นการทำงานหลายโปรแกรมพร้อมกัน ( Multiprogramming ) และออนไลน์ ( on-line)
ยุคที่สี่ ใช้เทคโนโลยีของวงจรรวมขนาดใหญ่ ( Large-scale integration,LSI ) ของวรจรไฟฟ้า ผลงานจากเทคโนโลยีนี้คือ ไมโครโปรเซสเซอร์ ( microprocessor ) กล่าวได้ว่า "Computer on a chip" ในยุคนี้
จากอดีตถึงปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ได้พัฒนามาอย่างรวดเร็วทำให้วิทยาการด้านคอมพิวเตอร์มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา กล่าวได้ว่าโลกของวิทยาการคอมพิวเตอร์นั้นมีการเคลื่อนไหวเสมอ ( dynamics) และไม่ค่อยยืดหยุ่น ( rigid ) มากนัก เช่น ถ้ามีความผิดพลาดเพียงเล็กน้อย บางครั้งอาจเป็นบ่อเกิดปัญหาที่ใหญ่โตมหาศาลได้ นอกจากนี้ยังนับได้ว่าเป็นโลกที่ควบคุมไม่ได้ หรือสามารถจัดการได้น้อย กล่าวคือ ทันทีที่ทำงานด้วยโปรแกรม เครื่องก็ปฏิบัติงานไปตามโปรแกรมด้วยตนเอง ขณะนั้นมนุษย์ไม่สามารถควบคุม

วันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

การใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น

การใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
เนื้อหาจะเป็นการแนะนำ การใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น ต่าง ๆ ที่จำเป็น ตั้งแต่การเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ การจับเม้าส์ การกดปุ่มบนเม้าส์ ตลอดจนการเปิดโปรแกรมต่าง ๆ ขึ้นมา การปิดโปรแกรมต่าง ๆ เมื่อไม่ใช้งาน การแก้ไขเครื่องในกรณีเครื่องเกิดอาการ Hang การปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกต้อง

การเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์
1. ตรวจสอบปลั๊กเสียก่อนว่า เสียบเรียบร้อยดีหรือไม่

2. ที่จอภาพ กดสวิทซ์ เพื่อเปิดจอภาพ

3. ที่ CPU. ด้านหน้า จะมีสวิทซ์ เพื่อเปิดเครื่อง (กดเบา ๆ )

4. เมื่อเปิดเครื่องแล้ว รอสักครู่ ที่จอภาพจะมีข้อความเพื่อตรวจสอบระบบต่าง ๆ

5. จากนั้น จะมีเสียง 1 ครั้ง

6. ที่หน้าจอภาพจะขึ้นคำว่า Windows เป็นการเริ่มต้นการใช้เครื่อง เพราะเครื่องจะต้องเรียกโปรแกรมควบคุมเครื่องที่ชื่อว่า Windows เสียก่อน (จะใช้เวลาประมาณ 3 นาที)

7. จากนั้นหน้าจอภาพจะมีโปรแกรมต่าง ๆ อยู่ด้านซ้าย และด้านล่างจะมีแถบ Task Bar ให้เราทำงานได้

การเลิกใช้เครื่องคอมพิวเตอร์
1. คลิ๊กที่ปุ่ม Start

2. เลื่อนมาคลิ๊กที่คำสั่ง Shut Down

3. คลิ๊กปุ่ม Ok

4. รอสักครู่เครื่องจะเริ่มทำการปิดระบบต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์

5. จากนั้นเครื่องจะดับเอง

6. ยกเว้น จอภาพ ให้กดสวิทซ์ ปิดจอด้วย

ส่วนประกอบของหน้าจอภาพเมื่อเข้าสู่วินโดวส์เรียบร้อยแล้ว
1.ส่วนที่เป็นภาพฉากหลัง เราเรียกว่า ส่วนพื้นจอภาพ (Desk Top)

2.ด้านซ้ายของจอภาพ ส่วนที่เป็นรูปภาพ และมีคำบอกว่าเป็นโปรแกรมอะไร เรียกว่า (Icon) ลักษณะจะเป็นโปรแกรมต่าง ๆ ที่วินโดวส์ จะนำมาไว้ที่จอภาพ ส่วนใหญ่จะเป็นโปรแกรมที่ถูกเรียกใช้บ่อย ๆ

3. ด้านล่างของจอภาพที่เป็นแถบสีเทา เราเรียกว่า (Task Bar) เป็นส่วนบอกสถานะต่าง ๆ โดยที่ด้านขวาของ ทาสบาร์ จะบอกเวลาปัจจุบัน สถานะของแป้นพิมพ์ว่า ภาษาไทย หรือ อังกฤษ โปรแกรมที่ถูกฝังตัวอยู่ ส่วนแถบตรงกลางจะใช้บอกว่า ขณะนี้เราเปิดโปรแกรมอะไรใช้งานอยู่บ้าง ด้านซ้ายของจอภาพ จะมีปุ่ม Start ใช้ในการเริ่มเข้าสู่โปรแกรมต่าง ๆ

การกดปุ่มบนเม้าส์ (Mouse) เม้าส์ในปัจจุบันจะมี 2 ปุ่ม ซ้าย และขวา ส่วนถ้าเป็นแบบล่าสุด จะมีปุ่มคล้าย ๆ ล้ออยู่ตรงกลางเพื่อใช้ในการเลื่อน ขึ้น และ ลง บนหน้าจอภาพ (Scroll Bar) ในการกดปุ่มบนเม้าส์นั้น จะมีวิธีกดปุ่มบนเม้าส์อยู่ทั้งหมด 4 วิธีคือ

1. คลิ๊ก (Click) คือการใช้นิ้วชี้กดปุ่ม ซ้าย ของเม้าส์ 1 ครั้ง ใช้ในการเลือกสิ่งต่าง ๆ บนจอภา
2. ดับเบิ้ลคลิ๊ก (Double Click) คือการใช้นิ้วชี้กดปุ่ม ซ้าย ของเม้าส์ 2 ครั้ง ติดกันอย่างเร็ว ใช้ในการเปิดโปรแกรมที่อยู่ด้านซ้ายของจอภาพ

3. แดร๊ก (Drag) คือการกดปุ่ม ซ้าย ของเม้าส์ ค้างไว้ แล้วลากเม้าส์ ใช้ในการย้ายสิ่งต่าง ๆ

4. คลิ๊กขวา (Right – Click) คือการใช้นิ้วกลาง กดปุ่ม ขวา ของเม้าส์ 1 ครั้ง ใช้ในการเข้าเมนูลัดของโปรแกรม (Context Menu)

การเปิดโปรแกรมขึ้นมาใช้งาน เช่น ต้องการเปิดโปรแกรมเครื่องคิดเลข (Calculator)

1. คลิ๊กที่ปุ่ม Start ตรงแถบทาสบาร์ด้านล่างซ้ายมือ

2. เลื่อนเม้าส์เพื่อให้ลูกศรที่จอภาพ ชี้ที่คำว่า Program ตรงนี้ชี้ไว้เฉย ๆ ครับ ไม่ต้องคลิ๊กเม้าส์

3. เลื่อนเม้าส์ไปทางขวา ในแนวนอนก่อน แล้วเลื่อนขึ้นไปที่คำว่า Accessories ไม่ต้องคลิ๊กเม้าส์

4. เลื่อนเม้าส์ไปทางขวา ในแนวนอนอีก แล้วเลื่อนลงมาที่คำว่า Calculator

5. จากนั้นจับเม้าส์ให้ นิ่ง ๆ คลิ๊กเม้าส์ 1 ที (คือการกดปุ่ม ซ้าย ของเม้าส์ 1 ครั้ง)

6. กรอบต่าง ๆ จะหายไป แล้วเครื่องจะเปิดหน้าต่าง เครื่องคิดเลขขึ้นมา ถือว่าเสร็จขึ้นตอนการเปิดโปรแกรมเครื่องคิดเลข ขึ้นมาใช้งาน ครับ

การปิดโปรแกรม เครื่องคิดเลข
1. ที่หน้าต่างเครื่องคิดเลข (Calculator) ตรงด้านบน ขวา มือจะมีปุ่มอยู่ 3 ปุ่ม

2. ไห้เลื่อนเม้าส์ ไปที่ปุ่มที่ 3 ทางขวามือ (ปุ่มจะเป็นรูป กากบาท X ) เมื่อเลื่อนเม้าส์ไปวางจะมีคำว่า Close

3. คลิ๊ก 1 ครั้ง เครื่องก็จะปิดหน้าต่างโปรแกรมเครื่องคิดเลขไป

การขยายหน้าต่างของโปรแกรมให้เต็มจอภาพ (Maximize)

1. ที่หน้าต่าง ด้านบน ขวามือ ให้คลิ๊ก ปุ่มที่สอง เครื่องจะมีข้อความขึ้นมาว่า Maximize (แต่ถ้าหน้าต่าง ถูกขยายขึ้นมาอยู่แล้ว คำจะเปลี่ยนเป็น Restore ถ้าคลิ๊กลงไปจะกลายเป็นหน้าต่าง ขนาดปกติครับ)

2.จากนั้นเครื่องจะขยายหน้าต่างให้เต็มจอ ส่วนใหญ่เราจะขยายหน้าต่างให้เต็มจอเพื่อให้เห็นรายละเอียดในหน้าต่างมากขึ้นครับ

การลดขนาดหน้าต่างเป็น Icon ลงใน ทาสบาร์ หรือ การซ่อนหน้าต่าง (Minimize)

1. ที่หน้าต่าง ด้านบน ขวามือ ให้คลิ๊กปุ่มที่เป็นขีด ลบ ถ้าเลื่อนเม้าส์ไปวางจะขึ้นคำว่า Minimize

2. คลิ๊กลงไป 1 ครั้ง เครื่องก็จะซ่อนหน้าต่าง ลงไปไว้ด้านล่างตรงทาสบาร์

3. ที่ทาสบาร์จะมีคำเป็นลักษณะปุ่มเขียนว่า ซ่อนโปรแกรมอะไรไว้

4. แต่ ถ้าอยากเรียกขึ้นมาใช้งานตามเดิม ให้คลิ๊กที่ปุ่มด้านล่างที่ทาสบาร์ที่เราซ่อนเอาไว้ เครื่องก็จะเปิดหน้าต่างโปรแกรมที่เราซ่อนเอาไว้ ขึ้นมาใช้งานได้ตามเดิม

การปิดโปรแกรมที่ทำให้เครื่องเกิดอาการแฮงค์ (Hang) อาการแฮงค์ คืออาการที่เราอาจจะเปิดโปรแกรมขึ้นมาหลายโปรแกรม แล้วทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานไม่ทัน หรือเราอาจจะคลิ๊กเม้าส์หลายครั้ง ในขณะที่เครื่องกำลังประมวลผลอยู่ จนเครื่องทำงานไม่ทัน เลยเกิดอาการแฮงค์ ซึ่งอาการแฮงค์นี้จะทำให้เราไม่สามารถคลิ๊กอะไรที่จอภาพได้เลย วิธีการแก้ไขเบื้องต้นคือ

1.ที่แป้นพิมพ์ ให้เรากดปุ่ม Ctrl + Alt ค้างไว้ แล้วอีกมือหนึ่ง กดปุ่ม Delete แล้วปล่อย

2.เครื่องจะขึ้นหน้าต่าง Task Manager ขึ้นมา

3.จากนั้น เราคลิ๊กที่โปรแกรมที่เราคิดว่าทำให้เครื่องแฮงค์

4.ด้านล่าง คลิ๊กที่ปุ่ม End Task เครื่องจะปิดโปรแกรมนั้นทิ้งไป

5.ถ้าไม่มีการปิดโปรแกรมอื่นอีก ก็ให้เลือกปุ่ม Cancel ออกมา

การทำกิ๊ฟคืออะไร

การทำกิ๊ฟคืออะไร
การนำเซลล์สืบพันธุ์ไปใส่ไว้ที่ท่อนำไข่ หรือที่รู้จักแพร่หลายโดยทั่วไปว่า กิฟท์ (GIFT) หมายถึง การนำเอาไข่และตัวอสุจิไปใส่ไว้ที่ท่อนำไข่เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิหรือรวมตัวกันตามธรรมชาติ เป็นวิธีการรักษาคู่สมรสที่มีบุตรยากวิธีหนึ่ง การรักษาคู่สมรสที่มีบุตรยากด้วยกิฟท์นั้นจะกระทำ ต่อเมื่อได้ทำการตรวจหาสาเหตุของการมีบุตรยากและทำการรักษาด้วยวิธีธรรมดาแล้วไม่ได้ผล เพราะการรักษาวิธีนี้ค่อนข้างสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายและเวลาต่างๆ สำหรับการรักษามาก นอกจากนั้น ยังอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างการรักษาได้อีกด้วยแม้ว่าจะเป็นส่วนน้อยก็ตาม

หลักการทำกิฟท์

หลักของการรักษาวิธีนี้ คือนำไข่และอสุจิมารวมกัน และฉีดเข้าท่อนำไข่ โดยผ่านทางปลายของท่อให้มีการปฏิสนธิ การแบ่งตัวของตัวอ่อนและการฝังตัวเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งต่างจากการทำเด็กหลอดแก้ว หรือการปฏิสนธินอกร่างกายและการย้ายฝากตัวอ่อน ซึ่งมีการผสมระหว่างไข่และอสุจิ ตลอดจนการแบ่งตัวของตัวอ่อนในห้องปฏิบัติการ แล้วจึงนำตัวอ่อนไปใส่ไว้ในโพรงมดลูก
ในทางเทคนิค ขั้นตอนใหญ่ๆ ของการทำกิฟท์ แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้

• การนำไข่ออกมาจากรังไข่

• การเตรียมอสุจิ

• การนำไข่และอสุจิมาใส่ไว้ที่ท่อนำไข่

1. การนำไข่ออกมาจากรังไข่

ตามธรรมชาติ รังไข่ประกอบด้วยไข่เล็กๆ เป็นจำนวนมากมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ไข่เป็นเซลล์เล็กๆ เจริญเติบโตภายในถุงรังไข่ ในแต่ละรอบเดือนจะมีฮอร์โมนจากสมองมากระตุ้นให้ถุงไข่เจริญเติบโต ระหว่างการเจริญเติบโตนี้ นอกจากถุงไข่จะมีขนาดใหญ่ขึ้นแล้ว ยังมีการหลั่งฮอร์โมนเพิ่มขึ้นด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เอสโตรเจนหรือเอสตราไดออล ถุงไข่จะเจริญเติบโตเต็มที่ก่อนไข่ตก เมื่อถึงเวลาไข่ตก ถุงไข่จะแตกออก ไข่จะหลุดจากถุงไข่และรังไข่เข้าสู่ท่อนำไข่ ปกติแล้วจะมีถุงไข่เพียงถุงเดียวเท่านั้นที่จะเจริญเติบโตเต็มที่จนถึงระยะไข่ตก การเจริญเติบโตของถุงไข่นี้สามารถตรวจสอบได้โดยการวัดขนาดถุงไข่ด้วยเครื่องตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงหรืออัลตร้าซาวด์ การตรวจเลือดหรือปัสสาวะเพื่อหาปริมาณของเอสโตรเจน หรือตรวจดูผลการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะต่างๆ ที่มีผลมาจากเอสโตรเจน เช่นการตรวจดูมูกบริเวณปากมดลูกเป็นต้น


2. การเตรียมอสุจิ

การเก็บอสุจินั้น ฝ่ายชายจะต้องนำอสุจิมาส่งในวันที่ทำกิฟท์ตามที่แพทย์นัดหมาย สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ

การรักษาความสะอาดของอวัยวะเพศให้ปราศจากการอักเสบติดเชื้อใดๆ
ควรงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการเก็บอสุจิเป็นเวลาอย่างน้อย 2 วัน
ทำการเก็บอสุจิด้วยตนเอง โดยก่อนทำต้องล้างมือให้สะอาด ห้ามใช้วิธีร่วมเพศแล้วมาหลั่งภายนอก หรือใช้ถุงยางอนามัย
บรรจุอสุจิลงในภาชนะสะอาดที่ปราศจากเชื้อ ซึ่งทางโรงพยาบาลเตรียมไว้ให้
นำส่งห้องปฏิบัติการ ตามเวลานัดหมาย
3. การนำไข่และอสุจิไปใส่ไว้ที่ท่อนำไข่
วิธีการนำไข่และอสุจิไปใส่ไว้ในท่อนำไข่มีหลายวิธี ได้แก่
• การใช้กล้องตรวจช่องท้องเช่นเดียวกับที่ทำการเก็บไข่ โดยแพทย์สอดเครื่องมือสำหรับจับท่อนำไข่และใช้ท่อเล็กๆ เจาะผนังหน้าท้องแล้วสอดสายสวนเข้าไปจนถึงท่อนำไข่ จากนั้น ทำการดูดไข่ และอสุจิบรรจุในสายเล็กๆ สอดเข้าไปตามสายสวนจนถึงท่อนำไข่ แล้วทำการฉีดไข่และอสุจิเข้าไป ระหว่างการทำ แพทย์จะให้ยาระงับความเจ็บปวดหรือให้ยาสลบ วิธีนี้เป็นที่นิยมปฏิบัติกันมากที่สุดในปัจจุบัน ขั้นตอนนี้จะใช้เวลาประมาณ 20 - 30 นาที

• การผ่าตัดบริเวณหน้าท้องเหนือหัวหน่าว โดยทำการผ่าตัดเล็กๆ เข้าช่องท้อง และนำท่อนำไข่ขึ้นมา จากนั้นจึงฉีดไข่และอสุจิที่เตรียมไว้เข้าท่อนำไข่โดยตรง วิธีนี้ในปัจจุบันนิยมทำลดลง เนื่องจากต้องมีแผลผ่าตัดกว้างวิธีแรก และอาจทำให้มีพังผืดบริเวณอุ้งเชิงกราน นอกจากนี้การทำซ้ำภายหลังหากการทำครั้งแรกไม่สำเร็จจะทำได้ยากขึ้น

• การสวนท่อผ่านทางปากมดลูกเข้าไปในโพรงมดลูก และเข้าสู่ท่อนำไข่ โดยอาศัยอัลตร้าซาด์ หรือเครื่องมือตรวจโพรงมดลูก วิธีนี้กำลังอยู่ในระยะการศึกษาวิจัย

การผสมเทียมโค

การผสมเทียมโค
ระบบข้อมูลเพื่อการผสมพันธุ์
การจัดการฟาร์มโดยใช้ระบบจัดเก็บข้อมูลฟาร์มเป็นหัวใจสำคัญของการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในปศุสัตว์ ในฟาร์มโคโดยเฉพาะโคนนมควรมีการระบบจัดเก็บข้อมูลที่ชัดเจน ในต่างประเทศมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการจัดการฟาร์มโดยข้อมูลจะถูกวิเคราะห์และสรุปเพื่อนำไปใช้ เช่น สามารถระบุแม่โคที่ควรเป็นสัดเพื่อรับการผสมพันธุ์ว่าเป็นตัวใดและวันใด ระบุหมายเลขแม่โคที่ควรตรวจท้องในวันที่ 60 หลังผสม ระบุหมายเลขแม่โคที่แนะนำคัดออกจากฝูงด้วยปัญหาผสมไม่ติด อายุมาก เป็นเต้านมอักเสบแอบแฝง มีการนำโปรแกรมเหล่านี้มาใช้ในประเทศไทยในฟาร์มขนาดใหญ่ แต่ด้วยระบบการเลี้ยงโคนมในประเทศไทยในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อยมีแม่โครีดนม 10 – 20 ตัวในแต่ละฟาร์ม เกษตรกรมีพื้นฐานความรู้การใช้ข้อมูลจำกัดต้องพึ่งเจ้าหน้าที่ส่งเสริม เจ้าหน้าที่ผสมเทียม นายสัตวแพทย์ของหน่วยงานรัฐบาลอยู่มาก ทำให้มีการปรับระบบจัดเก็บข้อมูลที่ไม่ซับซ้อนมาก และมีความเหมาะสมกับระบบการผลิตในประเทศดังตัวอย่างบัตรประจำตัวโคนม โคเนื้อของกรมปศุสัตว์

ข้อมูลที่จำเป็นต้องบันทึกในการผสมพันธุ์
แม่โครายตัวควรมีพันธุ์ประวัติ (ID –card) หรือบัตรประจำตัวโค ซึ่งกรมปศุสัตว์และ อ.ส.ค. มีรูปแบบการจัดเก็บบันทึกข้อมูลคล้ายกันโดยประยุกต์จากระบบบันทึกข้อมูลฟาร์มที่ใช้ในต่างประเทศ ในฟาร์มขนาดใหญ่ในต่างประเทศและบางฟาร์มในประเทศไทยได้นำโปรแกรมการจัดการฟาร์มเข้ามาช่วย เช่น Dairy CHAMP, DAISY, Dairy COMP หลายประเทศใช้ระบบข้อมูลจัดการฟาร์มระดับประเทศ เช่น DHI (Dairy Herd Health Management) ของสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สวีเดน หรือ NMR (National Milk Record) ของประเทศอังกฤษ โดยต่างล้วนมีโครงสร้างข้อมูลหลักคล้ายกัน ในประเทศไทยยังคงใช้ใบพันธุ์ประวัติประจำตัวโค เป็นบันทึกรายตัวโคโดยเกษตรกรจัดเก็บไว้ประจำฟาร์ม เพื่อให้เกษตรกรใช้ประโยชน์ และให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริม เจ้าหน้าที่ผสมเทียม นายสัตวแพทย์ ใช้เป็นข้อมูลประกอบการทำงาน การผสมเทียม การจัดการโคที่มีปัญหาผสมติดยาก การรักษาโคป่วย ข้อมูลหลักในการบันทึกข้อมูลทางการสืบพันธุ์ควรประกอบด้วย

หมายเลขประจำตัวโค ชื่อโค สายพันธุ์ ประกอบกับประวัติ พ่อ แม่
วันเกิด การเป็นสัดครั้งแรก การผสมเทียมครั้งแรก และครั้งต่อๆ ไป ทุกครั้ง
วันที่ผสมติด และวันกำหนดคลอด
การผสมทุกครั้ง ต้องบันทึกชื่อหรือหมายเลขพ่อพันธุ์ที่ใช้ผสม
ในแม่โคต้องมีบันทึกวันคลอดครั้งสุดท้ายและจำนวนที่เคยให้ลูก
วันเป็นสัดครั้งแรกหลังคลอด และการผสมครั้งแรกหลังคลอดและครั้งต่อๆไป และวันผสม
ของครั้งที่ตั้งท้องพร้อมระบุวันกำหนดคลอด และลงบันทึกวันคลอดจริงพร้อมปัญหาที่พบในขณะคลอด (ถ้ามี)

ข้อมูลเหล่านี้ จะบ่งบอกประสิทธิภาพของการสืบพันธุ์ในโคและการจัดการฟาร์มนั้นๆ ได้เป็นอย่างดีและช่วยการวางแผนการรองรับการจัดการฝูงโค การจัดการอาหาร การรีดนม เช่น การเตรียมคลอด การจับสัด อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันหน่วยงาน กรมปศุสัตว์ และ อ.ส.ค. ได้นำระบบจัดการข้อมูลโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาช่วยการจัดเก็บ ประเมินประสิทธิภาพการผลิตในโคนมมากขึ้นแต่ยังอยู่ในระดับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมเป็นผู้ใช้ การวิเคราะห์นำผลไปใช้ในการจัดการยังทำได้ไม่ทันเหตุการณ์เท่าที่ควร ดังนั้นการบันทึกของฟาร์มรายตัวโคยังมีความสำคัญและให้ประโยชน์ต่อการจัดการฟาร์มได้มากที่สุดในปัจจุบัน

สรุปข้อมูลหลักที่จำเป็นในการจัดการฟาร์มด้านการสืบพันธุ์
-หมายเลขโค วันเกิด สายพันธุ์ หมายเลขพ่อและสายพันธุ์หมายเลขแม่และสายพันธุ์
-โคท้องที่เท่าไร วันคลอดครั้งสุดท้าย วันเป็นสัด (หลังคลอด)
-วันผสมทุกครั้ง และครั้งที่ผสมติด วันกำหนดคลอด วันแท้งลูก (ถ้ามีประวัติแท้ง)
-บันทึกสุขภาพ วันที่ได้รับวัคซีน ชนิดวัคซีน วันตรวจโรคและผลการตรวจโรค
-ประวัติการป่วย รกค้าง มดลูกอักเสบ วันที่ได้รับยาปฏิชีวนะและชนิดยาที่ให้
-ข้อมูลที่มีความสำคัญรอง คือ ผลผลิตน้ำนมรายตัวโค และองค์ประกอบน้ำนม

ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตภายในฟาร์มได้ดี ด้วยสามารถนำมาประเมินค่าการผลิต เทียบกับค่าดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพการผลิต ตัวอย่างเช่น ในฟาร์มโคนมจะมีค่ามาตรฐานการผลิตที่ควรจะเป็น หากทำการประเมินการผลิตภายในฟาร์มแล้วอยู่ในเกณฑ์แสดงว่ามีการจัดการฟาร์มที่ดี หากมีค่าการผลิตต่ำกว่าเกณฑ์แสดงถึงปัญหาภายในฟาร์ม และบางกรณีสามารถระบุปัญหาที่ชัดเจนและนำสู่การหาแนวทางแก้ปัญหาได้ถูกต้องตรงประเด็น โดยควรประเมินเทียบกับค่าดัชนีชี้วัดความสมบูรณ์พันธุ์ภายในฟาร์มโคนม


ดัชนีประสิทธิภาพการสืบพันธ์ของฟาร์มโคนม
โดยทั่วไปของวงจรชีวิตแม่โคถูกจัดโดยสถานภาพการให้นมและการสืบพันธุ์ จะมีการหมุนเวียนเป็นวงจรนับจากวันคลอด ให้ผลผลิตน้ำนม ผสมพันธุ์ หยุดรีดนม พักท้องและคลอดโคที่มีประสิทธิภาพสูงจะสามารถให้ลูกปีละ 1 ตัว และเดินทางตามวงจรชีวิตอย่างสม่ำเมอ การประเมินศักยภาพการผลิตโดยมีค่าดัชนีการผลิตเข้าชี้วัดจะช่วยให้เกษตรกร นักส่งเสริม นายสัตวแพทย์ทำงานแก้ไขปัญหาได้ตรงกับสาเหตุ และทราบว่าสถานภาพของฟาร์มเป็นอย่างไรจึงควรนำข้อมูลฟาร์มมาใช้ประกอบการจัดการฟาร์มและจัดการสืบพันธุ์

ดังชีประสิทธิภาพการสืบพันธุ์ของฟาร์มโคนม (ค่าเฉลี่ยฝูง) ที่ควรเป็นคือ
-อายุการผสมพันธุ์ในโคสาว นำหนักตัวมากกว่า 280-300 กก. อายุ 15 เดือนขึ้นไป
-โคสาวคลอดท้องแรกอายุไม่เกิน 27 – 30 เดือน
-ระยะพักท้องหลังคลอด 40 – 45 วัน (มดลูกเข้าอู่)
-จำนวนโคที่เป็นสัดหลังคลอดภายใน 60 วัน มากกว่า 85 เปอร์เซ็นต์
-ระยะวันเฉลี่ยหลังคลอดถึงวันผสมครั้งแรกไม่เกิน 70 วัน
-ระยะวันเฉลี่ยหลังคลอดถึงวันผสมติดไม่เกิน 90 วัน
-จำนวนโคตั้งท้องเมื่อตรวจท้องที่ 45 – 60 วัน หลังผสมมากกว่า 85 เปอร์เซ็นต์
-โคผสมมากกว่า 3 ครั้งน้อยกว่า 20 เปอร์เซ็นต์
-อัตราผสมติดครั้งแรกหลังคลอดมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์
-ระยะระหว่างวันผสม
> น้อยกว่า 4 วัน จำนวนโคที่พบควรน้อยกว่า 5 เปอร์เซ็นต์
> 5 – 17 วัน จำนวนโคที่พบควรน้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์
> 18 – 24 วัน จำนวนโคที่พบควรน้อยกว่า 60 เปอร์เซ็นต์
> มากกว่า 24 วัน จำนวนโคที่พบควรน้อยกว่า 25 เปอร์เซ็นต์
-เปอร์เซ็นต์โคที่ไม่ตั้งท้องนานมากกว่า 120 วันหลังคลอด ไม่ควรเกิน 10 เปอร์เซ็นต์
-ระยะห่างการตกลูกเฉลี่ย 12 เดือน
-การคัดทิ้งเนื่องจากปัญหาความสมบูรณ์พันธุ์น้อยกว่า 5 เปอร์เซ็นต์
-อัตราการแท้งในฝูงน้อยกว่า 3 เปอร์เซ็นต์


อย่างไรก็ตาม ค่ามาตรฐานที่ควรจะเป็นในฟาร์มโคนมที่กล่าวข้างต้น เป็นค่าที่ต่างประเทศใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินประสิทธิภาพในฟาร์มในบางประเทศอาจมีค่าแตกต่างบ้าง แต่ดัชนีหลักๆแล้วจะเป็นค่าใกล้เคียงกับที่กล่าวข้างต้น ในประเทศไทยจะเบี่ยงเบนออกในทางที่แสดงว่าประสิทธิภาพการผลิตต่ำกว่าเกณฑ์ข้างต้น อาจเนื่องจากระบบการเลี้ยงฟาร์มรายย่อย เกษตรกรไม่คัดโคที่ไม่ให้ผลผลิตออกจากฝูง การบริการสุขภาพและการสืบพันธุ์ยังทำได้ไม่ครอบคลุมเป็นโปรแกรมสม่ำเสมอ ด้วยเกษตรกรไม่เข้าใจและไม่ให้ความสำคัญในการประเมินประสิทธิภาพการผลิตและการจัดการฟาร์มในเชิงการป้องกันและเฝ้าระวังผลตอบแทนจากอาชีพและระบบราคาน้ำนมยังไม่จูงใจให้คำนึงถึงประสิทธิการผลิตมากเท่าในต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดที่บุคลากรที่ชำนาญงานด้านนี้ยังมีจำนวนจำกัดโดยเฉพาะระดับนายสัตวแพทย์


การขยายพันธุ์โคด้วยวิธีอื่นๆ
การขยายพันธุ์โคนอกจากใช้การผสมพันธุ์โดยธรรมชาติและโดยการผสมเทียมแล้ว มีการพัฒนาเทคโนโลยีการสืบพันธุ์ เพื่อการขยายพันธุ์ที่ดีในเวลาที่สั้นลงอีกหลายวิธี เช่น การย้ายฝากตัวอ่อน (embryotransfer; ET) ที่ในหลายประเทศได้นำมาใช้แทนการผสมเทียมในบางส่วนของประชากรโค เช่น ในประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้วิทยาการในด้านนี้ได้มีการพัฒนาอย่างมากในระยะเวลาที่ผ่านมา ในปัจจุบันมีการเลี้ยงไข่ภายนอกร่างกาย (In vitro maturation of oocytes) ปฏิสนธินอกตัวสัตว์ หรือการปฏิสนธิในหลอดทดลอง (In vitro fertilization; IVF) และการเลี้ยงตัวอ่อนภายนอกร่างกาย (In vitro culture) ซึ่งประสบความสำเร็จและมีการนำมาใช้ในการขยายพันธุ์สัตว์ โดยทำให้มีผลิตตัวอ่อนและนำมาทำการถ่ายฝากตัวอ่อนที่มีพันธุกรรมที่มดำด้จำนวนมากในเวลาที่สั้นกว่าการใช้เทคนิคการผสมเทียม

ในขณะเดียวกันมีการพัฒนาเทคนิคการแยกเพศตัวอสุจิ (sperm sexing) และการแยกเพศตัวอ่อน(embryo sexing) ซึ่งมีการศึกษาและพัฒนาเทคนิคให้มีความถูกต้องของการระบุเพศได้มากขึ้นได้มีการพัฒนาเทคนิคการสร้างสัตว์เหมือน (cioning) โดยการตัดแบ่งตัวอ่อน (splitting embryc) หรือโดยการย้ายฝากนิวเคลียส (nuclear transfer) ที่ประสบความสำเร็จมากน้อยแตกต่างกันในแต่ละรายงานวิจัยซึ่งปัจจุบันมีการศึกษาวิธีการเหล่านี้เป็นอย่างมากเพื่อให้ได้อัตราการอยู่รอดของตัวอ่อนและอัตราการผสมติดที่ดีขึ้น หรือใกล้เคียงกับการใช้วิธีการผสมในที่นี้จะขอกล่าวถึงเทคนิคเหล่านี้ไว้พอสังเขป

การถ่ายฝากตัวอ่อน (Embryo Transfer)
ในปัจจุบันเป็นเทคนิคที่มีบทบาทมากในการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ โดยมีหลักการคือ กระตุ้นให้แม่โคที่มีกรรมพันธุ์ดีตกไข่ได้จำนวนมากกว่าปกติ (superovulation) และทำการผสมเทียม หลังจากนั้นมีการเก็บตัวอ่อนจากแม่โค นำไปฝากให้เจริญในมดลูกของแม่โคตัวอื่นทำให้ได้โคพันธุกรรมดีเพิ่มจำนวนขึ้นได้มาก สามารถทำการแช่แข็งตัวอ่อนเพื่อเก็บไว้ใช้ต่อไปได้ อย่างไรก็ตามวิธีนี้เสียค่าใช้จ่ายสูง โดยเฉพาะฮอร์โมนที่กระตุ้นการตกไข่และการเป็นสัดพร้อมกันระหว่างตัวให้(donors) และตัวรับ (recipients)ตลอดจนอุปกรณ์ที่ใช้และบุคลากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ

การคัดเลือกโคตัวให้ เป็นโคเพศเมียที่มีพันธุกรรมดีต้องการขยายพันธุ์ ปราศจากโรคติดต่อโดยเฉพาะโรคทางการสืบพันธุ์ เช่น แม่โคนมที่ผ่านการพิสูจน์พันธุ์ว่าให้น้ำนมสูงมีคุณภาพดี (elitecow) ปัจจุบันอาจกระตุ้นรังไข่ให้พัฒนานับแต่เป็นโคเล็กโคสาว ทำการเก็บไข่นำมาปฏิสนธิ เลี้ยงนอกร่างกายแล้วนำไปย้ายฝาก ทำให้ระยะเวลาในการปรับปรุงพันธุ์สั้นลง ส่วนโคตัวรับทำหน้าที่เป็นตัวอุ้มท้องของแม่ตัวให้ ต้องเป็นโคสุขภาพดีสมบูรณ์ ปราศจากโรคติดต่อ ปกติแม่โคตัวให้ 1 ตัวให้เตรียมแม่โคตัวรับไว้ 10 ตัว

โคทั้งตัวให้และตัวรับจะเหนี่ยวนำให้มีรอบการเป็นสัดพร้อมให้ โดยใช้โปรแกรมฮอร์โมนเหนี่ยวนำการเป็นสัดที่กล่าวไว้แล้วข้างต้น แม่โคให้จะถูกกระตุ้นให้ตกไข่เพิ่ม โดยนิยมใช้ฮอร์โมนเอฟเอสเอชฉีดวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 5 มิลลิกรัม 5 วันติดต่อกันหรือใช้ฮอร์โมนพีเอ็มเอสจี ฉีดกระตุ้นการตกไข่เพียงครั้งเดียวในระดับ 2,000 – 2,500 ไอยู ในวันที่ 10 ของวงรอบการเป็นสัด และให้โปรสตาแกลนดินเอฟทูอัลฟาในวันที่ 12 ของวงรอบ โคจะเป็นสัดในวันที่ 14 ทำการผสมเทียม ด้วยน้ำเชื้อพ่อโคพันธุ์ดี (elite bull) ทำการเก็บตัวอ่อนภายหลังผสมเทียมไปแล้ว 6-8 วัน ซึ่งเป็นระยะมอรูลา (morula) และบลาสโตซิล (blastocyte)

วิธีการเก็บตัวอ่อนจากแม่โคมีชีวิตทำได้2 วิธี คือ วิธีศัลยกรรม (surgical method) โดยผ่าตัดหน้าท้องหรือสีข้าง เปิดเข้าช่องท้องทำการเก็บตัวอ่อนที่ปีกมดลูกโดยในโคตัวอ่อนจะเดินทางถึงปีกมดลูกหลังเป็นสัดประมาณ 5 วันขึ้นไป โดยสอดเข็มฉีดยาหัวตัดผ่านเข้าปีกมดลูกปล่อยน้ำยาชะล้างตัวอ่อนแล้วให้ไหลกลับทางเข็มหรือท่อที่สอดไว้ในปีกมดลูกเข้าสู่หลอดเก็บตัวอ่อน ปริมาณน้ำยาที่ใช้ 10 – 100 มิลลิลิตร ขึ้นกับขนาดของปีกมดลูก วิธีนิรศัลยกรรม (nonsurgical method) เป็นวิธีที่ปลอดภัยต่อตัวให้และเป็นที่นิยมกว่าวิธีแรก โดยใช้ท่อชะล้าง (Foleycatheter) แบบ 2 ทาง หรือ 3 ทาง มีทางที่อัดลมเข้าให้ปลายท่อพองขนาดพอดีกับขนาดปีกมดลูกอีกทางใส่น้ำยาชะล้างเข้า อีกทางปล่อยน้ำยาที่ชะล้างจากมดลูกลงกระบอกเก็บตัวอ่อน ในโคนิยมเก็บตัวอ่อนในวันที่ 6-7 หลังการผสมเทียม ทำการสอดท่อชะล้างผ่านคอมดลูกเข้าไปวางที่กลางปีกมดลูกทีละข้าง

น้ำยาที่ใช้ชะล้างตัวอ่อนมีองค์ประกอบเป็นซีรัม เช่น โบวายซีรัมอัลบูมิน (bovine serum albumin) และยาปฏิชีวนะเพื่อควบคุมจุลินทรีย์ที่อาจปนเปื้อนก่อนใช้อุ่นอุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส 30 นาทีเมื่อได้ตัวอ่อนจะทำการตรวจประเมินคุณภาพตัวอ่อนที่มีลักษณะดี คือ มีรูปร่างกลม ขนาดเซลล์ภายในเท่ากัน สี ไม่ควรใสหรือทึบเกินไป ไม่มีฟองภายใน ไม่มีเซลล์ปูดโปน ลักษณะเปลือกไข่ (zonapellucida) และช่องว่างภายในตัวอ่อน (vitelline space) ปกติ มีการพัฒนาตามอายุตัวอ่อนที่ควรเป็น

ตัวอ่อนจะย้ายไปให้ตัวรับที่เป็นสัดในวันเดียวกันหรือใกล้เคียงกับตัวให้ โดยนิยมใช้วิธีนิรศัลยกรรม คือบรรจุตัวอ่อนที่คุณภาพดีเข้าในหลอดฟาง (ministraw) แล้วบรรจุในปืนฉีดน้ำเชื้อผสมเทียมสอดผ่านคอมดลูก ปล่อยตัวอ่อนกลางปีกมดลูกข้างที่มีคอร์ปัสลูเทียม เป็นวิธีที่นิยมใช้ในทางการค้า การย้ายฝากตัวอ่อนแบบผ่าตัดทำโดยเปิดด้านสีข้างโค ข้างที่รังไข่ทีคอร์ปัสลูเทียม ใช้เข็มฉีดยาแบบหัวตัดเจาะกลางปีกมดลูกข้างที่รังไข่มีคอร์ปัสลูเทียม ฉีดตัวอ่อนที่บรรจุในหลอดฟางเข้าไปในมดลูก เย็บแผลเปิด ให้ยารักษาแผลผ่าตัด เป็นวิธีที่ยุ่งยากใช้เวลาและค่าใช้จ่ายมาก

การผลิตตัวอ่อนภายนอกร่างกาย (In vitrofertilization; IVF)

ปัจจุบันมีการผลิตตัวอ่อนจากห้องปฏิบัติการนำไปฝากแม่สัตว์ให้ตั้งท้องคลอดลูกที่มีพันธุกรรมดีเด่นตามต้องการ ปัจจุบันมีข้อจำกัดมาก ในอนาคตน่าจะถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางมากขึ้น การผลิตตัวอ่อนภายนอกร่างกาย ประกอบด้วยการเลี้ยงไข่ภายนอกร่างกาย การปฏิสนธิภายนอกร่างกาย และการเลี้ยงตัวอ่อนภายนอกร่างกาย

การเลี้ยงไข่ภายนอกร่างกาย ทำโดยนำไข่ (oocytes) มาเลี้ยงให้สมบูรณ์จนพร้อมปฏิสนธิไข่ที่ได้นำมาจากรังไข่โคจากโงฆ่าสัตว์ หรือเก็บไข่จากโคที่มีชีวิต อาจเป็นลูกโคหรือโคระยะสืบพันธุ์ โดยใช้เข็มดูดผ่านผนังช่องคลอด ด้วยแกนตรวจของเครื่องอัลตราซาวด์ที่ติดเข็มดูด (transvaginalultrasound – guides aspiration technique หรือเรียกเทคนิคนี้ว่า ovum pick up) นำไข่ที่ได้มาเลี้ยงด้วยน้ำยาเฉพาะภายใต้สภาพคาร์บอนไดออกไซด์ 5 เปอร์เซ็นต์ ความชื้น 99 เปอร์เซ็นต์ อุณหภูมิ 38.5 – 39.0 องศาเซลเซียส ลักษณะไข่ที่นำมาเลี้ยงควรมีขนาดประมาณ 2 – 6 มิลลิเมตร มีคิวมูลัส (cumulus) ห้อมล้อมอย่างสมบูรณ์จะดีที่สุด หรือมีหุ้มบางส่วน ในโคใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 24 – 30 ชม. ข่มีการพัฒนาแบ่งตัวไปถึงระยะเมตาเฟส 2 (metaphase ll) และพบโพลาบอดี (first polar body)

การเตรียมอสุจิ เพื่อให้พร้อมปฏิสนธิ (capacitation) จะต้องเลี้ยงอสุจิในน้ำยาที่กระตุ้นให้อสุจิมีการคาปาซิเตซัน โดยเป็นสารไอออนสูง บ่มอสุจิในน้ำยาเฉพาะนี้ที่อุณหภูมิ 38 องศาเซลเซียส นาน 5 นาที แล้วปั่นที่ 330 จี 5 นาที ดูดน้ำทิ้งและเจือจางน้ำเชื้อและเลี้ยงร่วมกับรังไข่ 5 23 ชม. นำตัวอ่อนมาประเมินคุณภาพเพื่อถ่ายฝากหรือเลี้ยงต่อไป นอกจากนี้แล้วการปฏิสนธินอกร่างกายอาจทำโดยการฉีดอสุจิเข้าไซโตพลาสซึมของไข่ (microfertilization)

การเลี้ยงตัวอ่อนภายนอกร่างกาย จะเลี้ยงถึงระยะเหมาะสมสำหรับการย้ายฝาก โดยในโคสามารถเลี้ยงจากระยะไซโกท (zygote) จนถึงบลาสโตซิส โดยใช้น้ำยาเลี้ยงได้หลายชนิด เช่น TCM-199,CZB,HECM,SOFM
การคัดเพศอสุจิ (Sperm sexing)
การกำหนดเพศ กำหนดโดยโครโมโวม เอกซ์ (X) และลาย (Y) โดยโครโมโวมเพศเมีย คือ เอกซ์เอกซ์ (XX) และโครโมโวมเพศผู้คือเอกซ์วาย (XY) อสุจิแต่ละตัวมีโครโมโวมเอกซ์หรือวาย ดังนั้นหากแยกกลุ่มอสุจิเอกซ์และวายออกจากกันได้ จะเป็นประโยชน์ในการคัดเลือกเพศ ซึ่งความแตกต่างของโครโมโซมทั้งสองที่แตกต่างกันคือ มวลของอสุจิ ความสามารถในการเคลื่อนที่ ดีเอ็นเอ (DNA) ประจุไฟฟ้าที่ผิวอสุจิ และคุณสมบัติแอนติเจน


การคัดเพศอสุจิมีวิธีต่างๆ คือ
การแยกอสุจิจากมวล พบว่าในโครโมโซมวายเล็กกว่าโครโมโวมเอกซ์ ดังนั้นอสุจิเพศผู้วิ่งเร็วกว่าเพศเมีย 0.15 เปอร์เซ็นต์ และตกตะกอนช้ากว่าด้วยหลักการนี้จึงแยกอสุจิเพศผู้เพศเมียโดยการเทอสุจิลงบนชั้นของอัลบูมิน (bovine serum albumin) ซึ่งแยกเป็นชั้นเชื่อว่าโครโมโวมวายจะผ่านชั้นต่างๆได้เร็วกว่า อย่างไรก็ตาม พบว่าอสุจิที่แยกได้มีสัดส่วนอสุจิเอกซ์และวายเท่าๆ กัน มีการทดลองใช้วิธีปั่น อสุจิที่หนักกว่าจะลงมาอยู่ข้างล่าง ดังนั้นอสุจิเพศผู้ควรอยู่ชั้นบน อสุจิชั้นล่างควรเป็นเพศเมียแต่ผลการมีความขัดแย้งกัน

การแยกอสุจิจากการเคลื่อนที่ (ใช้ laminarflow fractionation) โดยอาศัยหลักการว่าอสุจิเพศผู้ควรวิ่งเร็วกว่าเพศเมีย พบว่ามีความถูกต้องของการตัดสินว่าเป็นอสุจิวาย 90 –100 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอสุจิเอกซ์ถูกต้อง 70 – 80 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตาม การแยกโดยวิธีนี้อสุจิที่ผ่านวิธีสูญเสียไป 90 เปอร์เซ็นต์

การแยกอสุจิโดยวิธีใช้ความแตกต่างของประจุ (free flow electrophophoresis) อสุจิเอกซ์และวายมีความแตกต่างประจุไฟฟ้าที่ผนังเซลล์ต่างกันพบว่าอสุจิที่มีโครโมโซมเอกซ์มีประจุลบ อย่างไรก็ตามหลังจากนำไปผสมเทียมให้ลูกเพศผู้เมียใกล้เคียงกัน

การแยกความแตกต่างของดีเอ็นเอ โดยใช้ flow cytometric separation ใช้หลักการว่าโครมาติน (chromatin) ในหัวของอสุจิสามารถติดสีย้อมได้ดีเมื่อย้อมสีฟูออเรสเซ็นต์ (fluorescent) แล้วให้อสุจิผ่านช่องแคบของ flow cytometer ที่มีลำแสงที่ทำให้อสุจิที่ติดสีย้อมเรืองแสง ทั้งนี้อสุจิเอกซ์มีดีเอ็นเอมากกว่า จึงควรเรืองแสงได้ดีกว่าอสุจิที่มีโครโมโซมวาย วิธีนี้แยกเพศได้ถูกต้องถึง 95 เปอร์เซ็นต์ ในโคนับเป็นวิธีที่แยกเพศอสุจิได้ดีที่สุด แต่มีจุดอ่อนคืออัตราการคัดแยกอสุจิต่ำ ประมาณ 1 ล้านตัวใน 5 ชม. ไม่เหมาะในการนำไปใช้ผสมเทียม แต่คุ้มกับการนำไปใช้ปฏิสนธินอกร่างกาย (IVF) อุปกรณ์ที่ใช้ราคาแพง อสุจิที่ได้อ่อนแอ อัตรารอดต่ำความสมบูรณ์พันธุ์ต่ำ

การแยกโดยความแตกต่างของแอนติเจน ที่ผิวเซลล์อสุจิเซลล์เพศผู้จะมีแอนติเจนวาย (Histocompatibility – Y antigen; H-Y) ผลิตโดยเซอร์ตอไล มีการทดลองอสุจิหนูเมื่อเทอสุจิลงใน sephadex column ที่เคลือบแอนติบอดีต่อเอชวาย เมื่อแยกอสุจิที่เกาะกับคอลัมน์ พบว่าลูกเป็นเพศผู้สูงถึง 90 เปอร์เซ็นต์ แต่วิธีนี้ไม่ได้ผลในโค

การคัดเพศตัวอ่อน (Embroyo sexing)

ทำได้หลายวิธี เช่น ใช้วิธีคาริโอไทป์ (karyotypeanalysis) โดยการตัดเซลล์ตัวอ่อนมา 10 –20 เซลล์ มาเลี้ยงเพิ่มจำนวนแล้วย้อมดูสีโครโมโซม มีความถูกต้องสูง แต่จุดอ่อนคือ ตัวอ่อนบอบช้ำ ใช้เวลานานในการตรวจ นอกจากนี้อาจ ดีเอ็นเอโพรบ (DNA probe และ Polymerase chain reaction;PCR )
แยกแถบโดยวิธี electrophoresis ทราบเพศโดยการอ่านแถบที่ปรากฏวิธีนี้มีความแม่นสูงที่สุด ใช้เวลาไม่นาน
การสร้างสัตว์เหมือน (Cloning)

มีวิธีการสร้างสัตว์เหมือนได้หลายวิธี คือ
การตัดแบ่งตัวอ่อน เป็นการเพิ่มจำนวนตัวอ่อนที่เป็นแฝดเหมือนกัน โดยตัดแบ่งตัวอ่อนในระยะมอรูลาและบลาสโตซิส ซึ่งเป็นระยะที่เซลล์ภายในยังไม่กำหนดหน้าที่ โดยใช้อุปกรณ์ micromanipulator ตัวอ่อน 1 ตัว ตัดแบ่งได้ 4 ตัว ในทางปฏิบัติเมื่อนำตัวอ่อนไปฝาก พบว่าไม่ค่อยประสบความสำเร็จในการตั้งท้องเท่าที่ควร

การย้ายฝากนิวเคลียส เป็นการย้ายฝากเซลล์ของตัวอ่อนที่มีพันธุกรรมที่ดี โดยนำเซลล์ตัวอ่อน 4 –10 เซลล์มาแยกเป็นเซลล์เดี่ยว โดยมากใช้ตัวอ่อนระยะมอรูลา ใช้เอนไซม์แยกเซลล์ แล้วดูดเซลล์ ผ่านเปลือกไข่เข้าไปในไข่ โดยใช้ไปเปตเล็กมาก (micropipette) ลูกที่เกิดโดยวิธีนี้น้อยมาก ตัวอ่อนตายในท้องสูง ปัญหาอาจเกิดจากความแตกต่างของพันธุกรรมของบลาสโตเมียที่นำฝากกับโอไอไซท์ ทำให้อัตราการพัฒนามีชีวิตรอดต่ำ ปัจจุบันมีการใช้เซลล์ของร่างกายแทนเซลล์ตัวอ่อน ในการย้ายฝากตัวอ่อน และประสบความสำเร็จพอสมควรที่ทราบดี เช่น การใช้เซลล์เต้านม เซลล์ใบหู
การย้ายฝากยีนส์ในสัตว์เลี้ยง มีหลักการคือ การฉีดดีเอ็นเอ เข้าไปในโปรนิวเคลียส (pronuclei) ของไซโกท เลี้ยงตัวอ่อนและนำไปฝากให้ตัวรับปัจจุบันผลสำเร็จต่ำมาก ตัวอ่อนที่ได้จากวิธีต่างๆ เหล่านี้สามารถนำเข้าสู่การแช่แข็ง เพื่อเก็บรักษาไว้ใช้ต่อไป

ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์

จากการที่คอมพิวเตอร์มีลักษณะเด่นหลายประการ ทำให้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวันในสังคมเป็นอย่างมาก ที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดก็คือ การใช้ในการพิมพ์เอกสารต่างๆ เช่น พิมพ์จดหมาย รายงาน เอกสารต่างๆ ซึ่งเรียกว่างานประมวลผล ( word processing ) นอกจากนี้ยังมีการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในด้านต่างๆ อีกหลายด้าน ดังต่อไปนี้

1. งานธุรกิจ เช่น บริษัท ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า ตลอดจนโรงงานต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำบัญชี งานประมวลคำ และติดต่อกับหน่วยงานภายนอกผ่านระบบโทรคมนาคม นอกจากนี้งานอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ก็ใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยในการควบคุมการผลิต และการประกอบชิ้นส่วนของอุปกรณ์ต่างๆ เช่น โรงงานประกอบรถยนต์ ซึ่งทำให้การผลิตมีคุณภาพดีขึ้นบริษัทยังสามารถรับ หรืองานธนาคาร ที่ให้บริการถอนเงินผ่านตู้ฝากถอนเงินอัตโนมัติ ( ATM ) และใช้คอมพิวเตอร์คิดดอกเบี้ยให้กับผู้ฝากเงิน และการโอนเงินระหว่างบัญชี เชื่อมโยงกันเป็นระบบเครือข่าย
2. งานวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และงานสาธารณสุข สามารถนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในนำมาใช้ในส่วนของการคำนวณที่ค่อนข้างซับซ้อน เช่น งานศึกษาโมเลกุลสารเคมี วิถีการโคจรของการส่งจรวดไปสู่อวกาศ หรืองานทะเบียน การเงิน สถิติ และเป็นอุปกรณ์สำหรับการตรวจรักษาโรคได้ ซึ่งจะให้ผลที่แม่นยำกว่าการตรวจด้วยวิธีเคมีแบบเดิม และให้การรักษาได้รวดเร็วขึ้น
3. งานคมนาคมและสื่อสาร ในส่วนที่เกี่ยวกับการเดินทาง จะใช้คอมพิวเตอร์ในการจองวันเวลา ที่นั่ง ซึ่งมีการเชื่อมโยงไปยังทุกสถานีหรือทุกสายการบินได้ ทำให้สะดวกต่อผู้เดินทางที่ไม่ต้องเสียเวลารอ อีกทั้งยังใช้ในการควบคุมระบบการจราจร เช่น ไฟสัญญาณจราจร และ การจราจรทางอากาศ หรือในการสื่อสารก็ใช้ควบคุมวงโคจรของดาวเทียมเพื่อให้อยู่ในวงโคจร ซึ่งจะช่วยส่งผลต่อการส่งสัญญาณให้ระบบการสื่อสารมีความชัดเจน
4.งานวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม สถาปนิกและวิศวกรสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบ หรือ จำลองสภาวการณ์ ต่างๆ เช่น การรับแรงสั่นสะเทือนของอาคารเมื่อเกิดแผ่นดินไหว โดยคอมพิวเตอร์จะคำนวณและแสดงภาพสถานการณ์ใกล้เคียงความจริง รวมทั้งการใช้ควบคุมและติดตามความก้าวหน้าของโครงการต่างๆ เช่น คนงาน เครื่องมือ ผลการทำงาน
5.งานราชการ เป็นหน่วยงานที่มีการใช้คอมพิวเตอร์มากที่สุด โดยมีการใช้หลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานนั้นๆ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ มีการใช้ระบบประชุมทางไกลผ่านคอมพิวเตอร์ , กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อเชื่อมโยงไปยังสถาบันต่างๆ , กรมสรรพากร ใช้จัดในการจัดเก็บภาษี บันทึกการเสียภาษี เป็นต้น
6.การศึกษา ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ทางด้านการเรียนการสอน ซึ่งมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยการสอนในลักษณะบทเรียน CAI หรืองานด้านทะเบียน ซึ่งทำให้สะดวกต่อการค้นหาข้อมูลนักเรียน การเก็บข้อมูลยืมและการส่งคืนหนังสือห้องสมุด

ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์

เครื่องคอมพิวเตอร์ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้มีจุดเด่น 4 ประการ เพื่อทดแทนข้อจำกัดของมนุษย์ เรียกว่า 4 S special ดังนี้

1. หน่วยเก็บ (Storage)

หมายถึง ความสามารถในการเก็บข้อมูลจำนวนมากและเป็นเวลานาน นับเป็น
จุดเด่นทางโครงสร้างและเป็นหัวใจของการทำงานแบบอัตโนมัติของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งเป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องด้วย

2. ความเร็ว (Speed)

หมายถึง ความสามารถในการประมวลผลข้อมูล (Processing Speed)
โดยใช้เวลาน้อย เป็นจุดเด่นทางโครงสร้างที่ผู้ใช้ทั่วไปมีส่วนเกี่ยวข้องน้อยที่สุด
เป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สำคัญส่วนหนึ่งเช่นกัน

3. ความเป็นอัตโนมัติ (Self Acting)

หมายถึง ความสามารถในการประมวลผลข้อมูลตามลำดับขั้นตอนได้อย่างถูกต้องและต่อเนื่องอย่างอัตโนมัติ โดยมนุษย์มีส่วนเกี่ยวข้องเฉพาะในขั้นตอนการกำหนดโปรแกรมคำสั่งและข้อมูลก่อนการประมวลผลเท่านั้น

4. ความน่าเชื่อถือ (Sure)

หมายถึง ความสามารถในการประมวลผลให้เกิดผลลัพธ์ที่ถูกต้อง ความน่าเชื่อถือนับเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ความสามารถนี้เกี่ยวข้องกับโปรแกรมคำสั่งและข้อมูลที่มนุษย์กำหนดให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง กล่าวคือ หากมนุษย์ป้อนข้อมูลที่ไม่ถูกต้องให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ย่อมได้ผลลัพธ์ที่ไม่ถูกต้องด้วยเช่นกัน

การทำงานของคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นประเภทใดก็ตาม จะมีลักษณะการทำงานของส่วนต่างๆ
ที่มีความสัมพันธ์กันเป็นกระบวนการ โดยมีองค์ประกอบพื้นฐานหลักคือ Input Process และ output ซึ่งมีขั้นตอนการทำงานดังภาพ

ขั้นตอนที่ 1 : รับข้อมูลเข้า (Input)

เริ่มต้นด้วยการนำข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถผ่านทางอุปกรณ์ชนิดต่างๆ แล้วแต่ชนิดของข้อมูลที่จะป้อนเข้าไป เช่น ถ้าเป็นการพิมพ์ข้อมูลจะใช้แผงแป้นพิมพ์ (Keyboard) เพื่อพิมพ์ข้อความหรือโปรแกรมเข้าเครื่อง ถ้าเป็นการเขียนภาพจะใช้เครื่องอ่านพิกัดภาพกราฟิค (Graphics Tablet) โดยมีปากกาชนิดพิเศษสำหรับเขียนภาพ หรือถ้าเป็นการเล่นเกมก็จะมีก้านควบคุม (Joystick) สำหรับเคลื่อนตำแหน่งของการเล่นบนจอภาพ เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 2 : ประมวลผลข้อมูล (Process)

เมื่อนำข้อมูลเข้ามาแล้ว เครื่องจะดำเนินการกับข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับมาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่
ต้องการ การประมวลผลอาจจะมีได้หลายอย่าง เช่น นำข้อมูลมาหาผลรวม นำข้อมูลมาจัดกลุ่ม
นำข้อมูลมาหาค่ามากที่สุด หรือน้อยที่สุด เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 3 : แสดงผลลัพธ์ (Output)

เป็นการนำผลลัพธ์จากการประมวลผลมาแสดงให้ทราบทางอุปกรณ์ที่กำหนดไว้ โดยทั่วไปจะแสดงผ่านทางจอภาพ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า "จอมอนิเตอร์" (Monitor) หรือจะพิมพ์ข้อมูลออกทางกระดาษโดยใช้เครื่องพิมพ์ก็ได้

คอมพิวเตอร์คืออะไร

คอมพิวเตอร์มาจากภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ
ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์"
คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ทำงานแทนมนุษย์ ในด้านการคิดคำนวณและสามารถจำข้อมูล ทั้งตัวเลขและตัวอักษรได้เพื่อการเรียกใช้งานในครั้งต่อไป นอกจากนี้ ยังสามารถจัดการกับสัญลักษณ์ได้ด้วยความเร็วสูง โดยปฏิบัติตามขั้นตอนของโปรแกรม คอมพิวเตอร์ยังมีความสามารถในด้านต่างๆ อีกมาก อาทิเช่น การเปรียบเทียบทางตรรกศาสตร์ การรับส่งข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลในตัวเครื่องและสามารถประมวลผลจากข้อมูลต่างๆ ได้
ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
10 ขั้นตอนในการใช้คอมพิวเตอร์อย่างมีประสิทธิภาพ
ปัญหาที่เกิดขี้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นจะมีตั้งแต่เล็กๆน้อยๆ ไปจนถึงความบกพร่องอย่างร้ายแรงที่จะทำให้งานของเราที่อุตส่าห์ทำเป็นเดือนๆ หายไปได้ในพริบตา หรือไม่สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์นั้นได้อีกเลย วิธีการที่ดีที่สุดในการจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นกับคอมพิวเตอร์นั้นก็คือ ป้องกันก่อนที่มันจะเกิดขึ้น

ขั้นตอนในการป้องกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ในการเก็บข้อมูลความสำคัญมากๆ ในเรื่องของการเก็บข้อมูล คือ ไม่ให้มีอุบัติเหตุซึ่งจะทำให้มันมีค่าที่สุด ถึงแม้ว่ามันอาจจะไม่ใช่เป็นอุปกรณ์ที่แพงที่สุดในเครื่องของเราก็ตามเป้าหมายของการป้องกันคือ เก็บข้อมูลของเราให้ปลอดภัย มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้



รู้จักเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเอง สร้างแผ่นบู๊ตฉุกเฉินขึ้นมา ปรับแต่งฮาร์ดดิสก์อย่างสม่ำเสมอ วางแผนในการเก็บรักษา สำรองข้อมูลที่มีค่าเอาไว้

ป้องกันไวรัส ติดตั้งโปรแกรมไว้ที่เดิม ใช้แต่ของใหม่เสมอ รักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ให้สะอาดอยู่เสมอ

ปิดเครื่องด้วยวิธีการที่ถูกวิธี
1.รู้จักเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเอง
เราสามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องของเราว่าอุปกรณ์อะไร รายละเอียดเป็นอย่างไร ได้ โดยดูที่ System Properties โดยคลิ๊กเม้าปุ่มขวาที่ My computer เลือก

1. Properties จะปรากฏ System Propeties ขึ้นมา ให้เราคลิ๊กที่ Tab Device Manager เราสามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ภายในเครื่องของเราได้
ถ้าเรามีเครื่องพิมพ์ ก็สั่งพิมพ์มาเก็บไว้เลยจะเป็นการดีที่สุดป้องกันการลืม

2.สร้างแผ่นบู๊ตฉุกเฉินขึ้นมา
เมื่อเราเครื่องของเรามีปัญหาไม่สามารถบู๊ตเครื่องจากฮาร์ดดิสก์ได้ เราก็ยังจะสามารถบู๊ตจากแผ่นบู๊ตฉุกเฉินที่เราสร้างขึ้นเอาไว้ได้ โดยไปที่

1. เลือกเมนู Start
2. เลือก Setting
3. เลือก Control Panel
4. กดดับเบิ้ลคลิ๊กไอคอน Add remove programs
5. ให้เลือกคลิ๊กที่ Tab Startup Disk แล้วใส่ แผ่น floppy disk ที่ทำการ format แล้วใน dirve a:
6. แล้วคลิ๊กที่ปุ่ม Create Disk หลังจากเครื่องทำการสร้างแผ่นบูตเสร็จเรียบร้อย เราก็จะได้แผ่นบู๊ตฉุกเฉินขึ้นมาแล้ว

3. ปรับแต่งฮาร์ดดิสก์อย่างสม่ำเสมอ
เพราะฮาร์ดดิสก์เป็นที่ที่เก็บแอปพิลเคชั่นไว้อย่างถาวร และที่สำคัญมากคือไฟล์ข้อมูลที่สร้างด้วยแอพพลิเคชั่นเหล่านั้น
ดังนั้นฮาร์ดดิสก์จึงจำเป็นต้องระมัดระวังอย่างพิเศษเพื่อรักษามันให้ปฏิบัตการได้ที่ประสิทธิภาพสูงสุด การสแกนดิสก์ เพื่อหาไฟล์ที่สูญหาย (Lost) และเซ็กเตอร์ที่เสียหาย (bad sector) จะช่วยป้องกันปัญหาของดิสก์ทั้งหมดก่อน ที่จะเกิดขึ้น ในขณะที่การ Defragment จะช่วยจัดเรียงไฟล์ที่แตกกระจัดกระจาย ให้เป็นระเบียบขึ้น

วิธีการสแกนดิสก์ทำได้ดังนี้
1. เลือกเมนู Start
2. เลือก Program
3. เลือก Accesorry
4. เลือก System Tools
5. เลือก Scan Disk

4. วางแผนในการเก็บรักษา
การเก็บรักษาไฟล์ข้อมูลในโฟล์เดอร์เราจะต้องเก็บรักษาให้อยู่ในส่วนที่ค้นหาง่ายและมีชื่อที่สามารถจดจำได้ง่าย จะช่วยลดความเสี่ยงที่เราจะลบโปรแกรมหรือข้อมูลเหล่านั้นโดยไม่ได้ตั้งใจ อีกทั้งฮาร์ดดิสก์ที่มีการบริหารรวบรวมที่ดีจะสามารถทำ การแบ๊กอัปสำรองข้อมูลได้ง่ายกว่าและเร็วกว่า และไฟล์ไหนที่เราไม่ได้ใช้เป็นเวลาอย่างน้อย 2 เดือน ควรจะลบไฟล์นั้นออกไป เพราะ ดิสก์ที่ใส่ข้อมูลมากๆ จนเกือบเต็มความจุของมันมักมีแนวโน้มที่จะเกิดความผิดพลาดได้มากกว่า และช้ากว่าฮาร์ดดิสก์ที่ไม่ได้ใส่ข้อมูลจนแน่น

5. สำรองข้อมูลที่มีค่าเอาไว้
การแบ็กอัปไฟล์ของเรามีความหมายง่ายๆ ก็คือเป็นการทำสำเนาเผื่อเอาไว้ ถ้าต้นฉบับถูกทำให้สูญหายหรือเสียหายไป เราก็ยังสามารถนำเอาสำเนามาใช้ได้ เราสามารถแบ็กอัปฮาร์ดดิสก์ไปยัง Floppy disk หรือ Zip disk ได้ ถ้าเราทำธุรกิจมีข้อมูลที่สำคัญมากๆ เช่น ข้อมูลของสินค้า ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลด้านบัญชี
มูลบุคคล เราควรจะแบ๊กอัปมันทุกๆวันเป็นมาตรฐานเอาไว้ แต่ถ้าเราเป้นผู้ใช้ตามบ้าน ก็ควรจะการแบ็กอัปไฟล์หนึ่งครั้งต่อสัปดาห์ และทำการแบ๊กอัป ทั้งระบบอย่างสมบูรณ์ทุกๆ 6 เดือน โดยเราสามารถใช้โปรแกรม Backup ดังนี้
1. เลือกเมนู Start
2. เลือก Program
3. เลือก Accesorry
4. เลือก System Tools
5. เลือก Backup

โปรแกรมนี้จะอนุญาติให้เราตรวจเลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการจะแบ๊กอัป

6. ป้องกันไวรัส
แม้ว่าไวรัสคอมพิวเตอร์ที่สามารถสร้างความเสียหายให้กับเครื่องและข้อมูลของเราได้ ซึ่งในบางครั้งก็ดูออกจะเป็นเรื่องตื่นตระหนกจนเกินเหตุ แต่ความเป็นจริงแล้วไวรัสไม่สามารถที่จะทำอันตรายให้กับเครื่องและข้อมูลของเราได้ ถ้าหากเราไม่ได้สั่งให้มันทำงาน (execute) ไวรัสนั้นติดมาได้ 2 ทาง คือ

1. จากแผ่นดิสก์อื่นที่เรานำมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นแผ่นที่เรายืมหรือก๊อปปี้ของเพื่อนมา หรือ แผ่นcd เถื่อนที่เราซื้อมาจากพันธุ์ทิพย์

2. จากอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมที่เราดาว์นโหลดมา หรือ ไวรัสที่ส่งมากับอีเมล์ วิธีป้องกันที่ดีที่สุด คือเราต้องไม่นำมาใช้ หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ให้เราหาโปรแกรมสำหรับสแกนไวรัสมาสแกนไวรัสก่อนที่จะนำมาใช้ ยกตัวอย่างเช่น McAfee's VirusScan Norton AntinVirus หรือ Pc-cillin
แต่ในบางครั้งไวรัสตัวนั้นอาจเป็นไวรัสชนิดใหม่ที่โปรแกรมเหล่านั้นยังไม่สามารถตรวจสอบได้ เราก็จำเป็นต้องไปดาวน์โหลดโปรแกรมสแกนไวรัสเวอร์ชั่นใหม่ ๆ มาใช้งานจากเวบไซด์เหล่านั้น

7. ติดตั้งโปรแกรมไว้ที่เดิม
เมื่อเราได้ติดตั้งโปรแกรมลงบนระบบของ window95 แล้วอย่าได้เปลี่ยนชื่อไดเร็กทอรี่ของโปรแกรมหรืออย่าได้ย้ายไฟล์ของมันจากที่ที่มันอยู่ไปไว้ที่อื่นๆ บนฮาร์ดดิสก์ของเรา มิฉะนั้นคอมพิวเตอร์จะหาแทร็กของคีย์ไฟล์ไม่เจอ ถ้าเราจะทำการลบ (delete) หรือยกเลิกการติดตั้ง (uninstall)

วิธีการลบ (delete) หรือยกเลิกการติดตั้งที่ถูกวิธีทำได้ดังนี้
1. เลือกเมนู Start
2. เลือก Control Panel
3. กดดับเบิ้ลคลิ๊กที่ Add/Remove Programs
4. เลือกโปรแกรมที่เราต้องการจะลบ หรือ ยกเลิกการติดตั้ง
5. กดปุ่ม Add/Remove
หลังจากกดปุ่ม Add/Remove แล้วจะปรากฏหน้าต่างการยกเลิกการติดตั้งให้ แต่มีบางไฟล์หรือบางกรณีที่จะต้อง ใช้คำสั่งลบออกได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องผ่านการลบด้วยกรรมวิธีขั้นต้น สามารถเข้าไปลบไฟล์เหล่านั้นได้เลย

8. ใช้แต่ของใหม่เสมอ
อุปกรณ์ต่างๆ ที่เป็นส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์จะมีโปรแกรมไดว์เวอร์ (driver) เพื่อพูดคุยติดต่อระหว่าง window95 กับ ฮาร์ดแวร์ของเรา จะเป็นการดีถ้าเราสามารถอัปเดตโปรแกรมไดว์เวอร์เหล่านั้นให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้คอมพิวเตอร์ของเราทำงานได้เต็มประสิทธิภาพคุ้มค่ากับเงินที่เสียไป

9. รักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ให้สะอาดอยู่เสมอ
ฝุ่นสามารถทำให้ชิปภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราร้อนขึ้นมามากกว่าธรรมดาและยังเป็นตัวขัดขวางการไหลเวียนระบายความร้อนของอากาศอีกด้วย อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งให้เราถอดปลั๊กต่างๆ และเปิดฝาเครื่องขึ้นมา และเป่าฝุ่นออก อย่าเช็ดด้วยเศษผ้า ให้ใช้ปากเป่าหรือกระป๋องอัดลมสำหรับฉีดลมอย่างใดอย่างหนึ่งในการเป่าฝุ่น

10. ปิดเครื่องด้วยวิธีการที่ถูกต้อง
เมื่อใดก็ตามที่เสร็จการทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วจะเลิกการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่าได้ปิดเครื่องเลยทันที เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์มีการเก็บหน่วนความจำแคช ปิดไฟล์ และ เซฟข้อมูลคอนฟิกคูเรชั่นต่างๆ ก่อนที่เราจะปิดเครื่อง
เราจำเป็นต้องต้องสั่งให้คอมพิวเตอร์ของเราชัตดาวน์ (shutdown) ก่อนเสมอ โดยไปที่ Start --> Shutdown แล้วกด OK เท่านี้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราก็จะจบการทำงานได้อย่างสวยงาม
การผสมเทียม
การผสมเทียม หมายถึง การรีดน้ำเชื้อจากสัตว์พ่อพันธุ์แล้วนำไปฉีดเข้าในอวัยวะของสัตว์ตัวเมีย เมื่อสัตว์ตัวเมียนั้นแสดงอาการของการเป็นสัดแล้วทำให้เกิดการตั้งท้องแล้วคลอดออกมาตามปกติ

ประโยชน์ของการผสมเทียม
1. ทำให้ประหยัดพ่อพันธุ์เมื่อรีดเก็บน้ำเชื้อจากสัตว์พ่อพันธุ์ได้แต่ละครั้งสามารถนำมาละลายน้ำเชื้อแล้วแบ่งใช้ผสมกับสัตว์ตัวเมียได้จำ นวนมาก
2. สามารถผสมพันธุ์สัตว์ที่มีขนาดใหญ่หรือเล็กต่างกันได้ โดยไม่มีอันตรายจากการขึ้นทับของพ่อพันธุ์
3. ไม่ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงพ่อพันธุ์
4. ตัดปัญหาในเรื่องขนส่งโคไปผสมเพราะสามารถนำน้ำเชื้อไปผสมได้ไกล ๆ


ระยะเวลาที่เหมาะสมในการผสมเทียม
โคตัวเมีย ที่แสดงอาการเป็นสัดดังกล่าว ควรจะได้รับการผสมเทียมในระยะเวลาช่วงกลางของการเป็นสัด หรือใกล้ระยะที่จะหมดการเป็นสัด (อาจจะหมดการเป็นสัดไปแล้วประมาณ 6 ชั่วโมงก็ได้ หรือเมื่อโคเพศเมียตัวนั้นยืนนิ่งให้ตัวอื่นขึ้นขี่ ซึ่งใช้เป็นหลักในการผสมพันธุ์) โดยทั่ว ๆ ไปโคเพศเมียจะมีระยะเป็นสัดประมาณ 18 ช.ม. แล้วต่อมาอีก 14 ช.ม. จึงจะมีไข่ตกเพื่อรอรับการผสมพันธุ์กับน้ำเชื้อพ่อโค จึงเห็นสมควรที่ต้องเลือกเวลาที่เหมาะสม ในการดำเนินการเรื่องของรับบริการผสมเทียมดังมีหลักการที่จะใช้ในการปฏิบัติงานผสมเทียมคือ
1. เมื่อโคเพศเมียตัวใดแสดงอาการเป็นสัดในตอนรุ่งเช้าของวันใดวันหนึ่ง ควรที่จะได้รับการผสมเทียมในวันเวลาเดียวกัน (ก่อน 16.30 น.) ฉะนั้นพอรุ่งเช้าของแต่ละวันเจ้าของสัตว์ควรที่จะได้ไปแจ้งและบอกเวลา (ประมาณ) ที่ท่านได้เห็นสัตว์ของท่านแสดงอาการเป็นสัด
2. ถ้าโคเพศเมียตัวใดแสดงอาการเป็นสัดในตอนบ่ายของวันใดวันหนึ่ง ควรที่จะได้รับการผสมเทียมตอนเช้าหรือก่อนเที่ยงของวันรุ่งขึ้น ฉะนั้นเจ้าของสัตว์เมื่อพบว่าสัตว์แสดงอาการเป็นสัดในตอนบ่ายหรือตอนเย็น ท่านควรจะไปแจ้งและบอกเวลาของการเป็นสัด (ประมาณ) ในรุ่งเช้าของวันต่อไปก็ได้
ถ้าท่านได้ศึกษาและรู้จักสังเกตการแสดงอาการเป็นสัด ว่าอาการเป็นอย่างไรและหาระยะเวลาที่จะผสมเทียมให้พอเหมาะแล้ว จะเป็นการช่วยแก้ปัญหาเรื่องการผสมเทียมติดยากหรือผสมไม่ค่อยติดในโคเพศเมียของท่านได้ทางหนึ่ง และจะทำให้เป็นประโยชน์ในด้านการเพิ่มจำนวนและปริมาณน้ำนมในกิจการโคนมของท่านยิ่งขึ้น จึงเห็นสมควรที่จะเรียกช่วงเวลาอันสำคัญนี้ว่า "นาทีทองในโคนมตัวเมีย"
จะรู้ได้อย่างไรว่าโคตั้งท้องหรือไม่
เมื่อโคนาง ได้รับการผสมไปแล้วประมาณ 21 วันหากโคไม่กลับมาแสดงอาการเป็นสัดอีกก็อาจคาดได้ว่าผสมติดหรือโคตัวนั้น เริ่มตั้งท้องแล้ว เพื่อให้รู้แน่ชัดยิ่งขึ้นภายหลังจากการผสมโคนางแล้ว 50 วันขึ้นไปอาจติดต่อสัตวแพทย์หรือบุคคลผู้มีความ ชำนาญในการตรวจท้องแม่โค (โดยวิธีล้วงเข้าไปคลำลูกโคทางทวารของแม่โค) มาทำการตรวจท้องแม่โคก็จะทราบได้แน่ชัดยิ่งขึ้น
........ข้อสังเกต ในกรณีโคสาว จะสังเกตได้จากการเจริญเติบโตที่เร็วขึ้น กินจุขึ้น ความจุของลำตัวโดยเฉพาะส่วนท้องซี่โครงจะกางออกกว้าง ขึ้น ขนเป็นมัน และไม่เป็นสัดอีก

การคลอดลูก
โดยทั่วไปแม่โคจะตั้งท้องประมาณ 283 วัน หรือประมาณ 9 เดือนเศษ ในช่วงนี้แม่โคจะได้การเอาใจใส่ดูแลเรื่องความเป็นอยู่และอาหารเป็นพิเศษ เพราะลูกในท้องเจริญขึ้นเรื่อย ๆ และเป็นไปอย่างรวดเร็ว ในระยะก่อนคลอดประมาณ 45 - 80 วัน ควรเพิ่มอาหารผสมให้แก่แม่โคท้อง เพื่อแม่โคจะได้นำไปเสริมสร้างร่างกายส่วนที่สึกหรอ และนำไปเลี้ยงลูก หรือนำไปสร้างความเจริญเติบโตสำหรับอวัยวะบางอย่างที่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์มากที่สุดและเพื่อไม่ให้แม่โคซูบผอม สำหรับแม่โคที่กำลังให้นม เมื่อตั้งท้องลูกตัวต่อไปควรจะหยุดรีดนมก่อนคลอดประมาณ 45 - 60 วัน สำหรับแม่โคท้องแรกหรือท้องสาวหรือแม่โคที่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ (อายุไม่ถึง 5 ปี) แม้จะให้ลูกมาแล้ว 1 หรือ 2 ตัวก็ตาม ก่อนคลอดลูกตัวต่อไปควรจะหยุดพักการรีดนมเร็วกว่าแม่โคที่โตเต็มที่แล้ว อย่างน้อยก่อนคลอดประมาณ 45 - 60 วัน เพื่อให้แม่โคได้มีเวลาเตรียมตัวได้พักผ่อนร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ บ้าง มิฉะนั้นแม่โคอาจจะได้รับผลกระทบกระเทือน นั่นหมายถึงผลเสียหายที่จะตามมาภายหลังได้ เช่น ร่างกายจะชะงักการเติบโตเพราะอาหารไม่พอ ร่างกายไม่สมบูรณ์ เมื่อคลอดลูกออกมาลูกโคอ่อนแอ มีช่วงระยะการให้นมในปีต่อไปสั้นลง ผสมติดยาก ทิ้งช่วงการเป็นสัดนาน และอื่น ๆ เป็นต้น

อาการที่แม่โคแสดงออกเมื่อใกล้คลอด
เราอาจจะสังเกตอาการต่างๆได้ดังนี้
1. เต้านมขยายใหญ่ขึ้น
2. อวัยวะเพศขยายตัวขึ้น ยิ่งใกล้วันคลอดเข้ามาสังเกตเห็นมีน้ำเมือกไหลออกมาจากช่องคลอด
3. กระดูกเชิงกรานขยายตัวออกกว้างขึ้น โคนหางตรงกระดูกก้นกบจะบุ๋มลึกลงทั้งสองข้าง
4. ช่องท้องตรงสวาปจะลึกหย่อนลง
5. ยกหางขึ้น-ลงเล็กน้อยเป็นครั้งคราว
6. ถ้าเป็นโคที่ปล่อยรวมฝูงจะพยายามแยกตัวออกจากฝูง
7. แม่โคที่ถูกขังจะไม่สนใจในการกินหญ้า อาหาร ยืนกระสับกระส่าย ขกขาหลังแตะอยู่เรื่อย ๆ มีการเบ่งคลอดตลอดเวลา
ท่าคลอดปกติของลูกโค


จะรู้ได้อย่างไรลูกโคคลอดปกติหรือไม่
ลักษณะการคลอดลูกในท่าปกติของแม่โค คือ ลูกโคจะเหยียดขาหน้าตรงออกมาพร้อมกันทั้งสอง (ส่วนหัวแนบชิดกับเข่า) จะเห็น เป็น 3 จุด คือ 2 กีบข้างหน้า และจมูก ถ้าหากมีลักษณะอื่น ๆ ผิดไปจากนี้ให้ถือเป็นการคลอดที่ผิดปกติ อาทิเช่น หัวพับหรือเอาด้าน หลังออกมาก่อนส่วนอื่น หรือกรณีที่ลูกโคมีขนาดใหญ่จนไม่สามารถผ่านช่องคลอดออกมาได้ หรือกรณีอื่น ๆ เช่นนี้ควรรีบติดต่อสัตวแพทย์มาช่วยทำการคลอด และหากลูกโคคลอดออกมาแล้วรกยังไม่ออกตามมาถ้าเกิน 12 ชั่วโมง ควรรีบตามสัตวแพทย์มาช่วยแก้ไข เพราะถือว่ามีความผิดปกติบางอย่างเกิดขึ้นกับแม่โค ซึ่งต้องรีบทำการรักษา หลังจากลูกโคคลอดออกมาแล้วควรรีบเช็ดทำความสะอาดตัวลูกโคให้แห้งโดยเร็ว โดยเฉพาะเมือกบริเวณจมูกปากและลำตัวพร้อมกับทำการตัดสายสะดือให้ห่างจากตัวโคประมาณ 1 นิ้วแล้วทาด้วยทิงเจอร์ไอโอดีน
โคลนนิง
จนกระทั่งวันนี้ คงไม่มีใครไม่เคยได้ยินคำว่า โคลนนิง จริงๆ แล้ว โคลน (clone) หมายถึง สิ่งมี ชีวิตที่มาจากเซลล์เดียวกัน และมีสารพันธุกรรมที่เหมือนกันทุกประการ เช่น แบคทีเรียซึ่งเพิ่มจำนวน ด้วยการแบ่งตัว หรือกลุ่มของเซลล์มะเร็งที่โตมาจากเซลล์ที่ผิดปกติเริ่มต้นเพียงเซลล์เดียว แต่เราไม่ได้ เป็นโคลนของทั้งพ่อและแม่ เพราะเราได้สารพันธุกรรมครึ่งหนึ่งมาจากพ่อและอีกครึ่งหนึ่งมาจากแม่ ฉะนั้นสิ่งมีชีวิตที่มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ไม่ได้เป็นโคลนของกันและกัน
นักวิทยาศาสตร์ได้พยายาม "โคลน" สิ่งมีชีวิตมาตั้งนานแล้ว การโคลนสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง บางชนิด ทำได้ง่ายมาก เช่น ถ้าเราตัดปลาดาวออกเป็นสองส่วน แต่ละส่วนจะสามารถงอกเป็นปลาดาว ตัวใหม่ทั้งตัวได้ แต่การโคลนสัตว์มีกระดูกสันหลัง ทำได้ยากกว่ามาก นักวิทยาศาสตร์ได้เรียนรู้ว่า ไม่ สามารถนำเซลล์ที่พัฒนาเป็นเซลล์พิเศษ ที่มีหน้าที่จำเพาะ มาโคลนเป็นสิ่งมีชีวิตทั้งตัวได้ เช่นถ้าเรา เอาเซลล์ผิวหนัง หรือ เม็ดเลือดของคนมาโคลน ก็จะได้เฉพาะเซลล์ผิวหนังหรือเส้นเลือดที่มีสารพันธุ กรรมเหมือนกันเท่านั้น ไม่สามารถจะพัฒนาเป็นคนทั้งตัวได้
ในปี ค.ศ.1996 นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันโรสลิน ประเทศสกอตต์แลนด์ ได้สร้างแกะที่เกิด จากการโคลนเป็นผลสำเร็จเป็นครั้งแรกของโลก โดยเอาเซลล์ต่อมน้ำนมของแกะตัวหนึ่ง ไปผสมกับไข่ ที่ไม่มีดีเอ็นเอ (ดีเอ็นเอของไข่ถูกดูดออกไป) โดยใช้ไฟฟ้า ทำให้ไข่นั้นพัฒนาไปเป็นตัวอ่อนได้โดย อาศัยดีเอ็นเอที่ได้จากเซลล์ต่อมน้ำนม แล้วตัวอ่อนที่ได้ได้ถูกนำไปฝากไว้ในครรภ์ของแม่แกะอีกตัว หนึ่ง ลูกแกะที่โด่งดังตัวนี้มีชื่อว่า ดอลลี่ ซึ่งเกิดขึ้นในปี 1996

หลังจากนั้นเป็นต้นมา นักวิทยาศาสตร์หลายกลุ่มก็ได้พัฒนาเทคนิคการโคลนนิงแบบอื่นที่มี ประสิทธิภาพดีขึ้น รวมทั้งได้มีการโคลนสัตว์อื่นๆ เช่น วัว, หนู รวมทั้งแกะที่มียีนของมนุษย์อยู่ เราจะ โคลนสิ่งมีชีวิตไปทำไมกัน ทั้งที่สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ก็สืบพันธุ์ได้ตามปกติ นอกจากโคลนนิ่งจะให้ความรู้ เกี่ยวกับการสร้างและพัฒนาตัวอ่อน และอวัยวะของสิ่งมีชีวิตต่างๆ แล้ว การโคลนสัตว์ต่างๆ โดยเฉพาะ พวกที่มีสารพันธุกรรมเปลี่ยนแปลงไปอย่างที่เราต้องการยังจะมีประโยชน์ต่อการศึกษาวิจัยวงการแพทย์ การเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมด้วย เช่น เราสามารถจะผลิตวัวพันธุ์พิเศษที่สร้างยาในน้ำนมของมัน ทำให้รักษาผู้ป่วยได้ด้วยการกินนมวัวแทนยา หรือเรายังสามารถโคลนสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ไว้ได้ ถึง แม้ว่าการโคลนมนุษย์ ยังเป็นที่ถกเถียงกันมากในแง่จริยธรรม และยังไม่ได้รับอนุญาตให้ทำการศึกษา วิจัยได้ แต่ประโยชน์ที่เล็งเห็นได้ก็คือ การที่ทำให้คู่สมรสที่เป็นหมันสามารถมีลูกได้หรือทำให้คู่สมรสที่ มีโรคทางพันธุกรรมสามารถหลีกเลี่ยงไปเลือกใช้ดีเอ็นเอที่ปกติจากคนใดคนหนึ่งมาถ่ายทอดให้ลูกได้
เทคโนโลยีการย้ายฝากตัวอ่อนเพื่อการปรับปรุงพันธุ์ในปศุสัตว์
การพัฒนาเทคโนโลยีให้พอเพียงและเหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีขึ้นในประเทศ เพื่อให้มีความรู้เท่าเทียมกับต่างประเทศ และยังเป็นการนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์

เทคโนโลยีการย้ายฝากตัวอ่อน (Embryo Transfer Technology) เป็นเทคนิคขั้นสูงที่ช่วยในการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ได้เป็นอย่างดีและรวดเร็วขึ้น และยังช่วยในการป้องกันโรคติดต่อทางระบบสืบพันธุ์ โดยมีวิวัฒนาการเริ่มต้นจากเทคนิคการผสมเทียม เทคโนโลยีนี้ครอบคลุมถึงเทคนิคของการย้ายฝากตัวอ่อน การเลี้ยงตัวอ่อนนอกร่างกาย การแช่แข็งตัวอ่อน การปฏิสนธินอกร่างกาย การคัดเลือกเพศ การตัดแบ่งตัวอ่อน เพื่อผลิตลูกแฝดเหมือน จนถึงการโคลนนิ่งด้วยการย้ายฝากนิวเคลียสที่เป็นเทคนิคทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน

ตำรานี้ได้รวบรวมความรู้จากงานวิจัยและประสบการณ์ของผู้เขียนที่ได้พัฒนาขึ้นในภาควิชาสูติศาสตร์ เธนุเวช-วิทยาและวิทยาการสืบพันธุ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 จนถึงปัจจุบัน และยังได้รวบรวมงานวิจัยที่เผยแพร่ในประเทศและต่างประเทศ ข้อมูลส่วนหนึ่งเป็นภาษาฝรั่งเศสซึ่งมีความก้าวหน้า และไม่มีการเผยแพร่ภายในประเทศมาก่อน โดยรวบรวมและได้รับความอนุเคราะห์จากนักวิจัยของสถาบันเกษตรแห่งชาติ (Institut Nationale de Recherche Agronomique, INRA) ประเทศฝรั่งเศส ที่ผู้เขียนได้เริ่มงานวิจัยขณะทำปริญญาเอกและหลังปริญญาเอก

ตำราเล่มนี้ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ

ส่วนที่ 1 พื้นฐานทั่วไปทางระบบสืบพันธุ์ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชีวภาพของตัวอ่อน
ส่วนที่ 2 เทคโนโลยีการย้ายฝากตัวอ่อน
ส่วนที่ 3 เทคโนโลยีการปฏิสนธินอกร่างกายและการย้ายฝากนิวเคลียส
ส่วนที่ 4 เทคโนโลยีการย้ายฝากตัวอ่อนในกระบือปลัก
งานชิ้นที่ 3
ปรับแต่ง Windows 95 ให้อ่านไฟล์ได้เร็วขึ้น
1. แก้ไขค่าบัฟเฟอร์ให้เปิดไฟล์ได้เร็วขึ้น

แก้ไขไฟล์ด้วยการเรียกใช้คำสั่ง Run ใน Start เมนู แล้วพิมพ์คำสั่ง sysedit จากนั้นคลิกที่ไฟล์ system.ini ( ก่อนที่จะทำการแก้ไขใด ๆ ควรจะทำการสำรองไฟล์เก็บไว้ด้วย เพื่อความปลอดภัย) จากนั้นเข้าไปในหัวข้อ [386Enh] แล้วหาบรรทัด PageBuffers=4 ซึ่งให้ทำการแก้ไขค่าเหล่านั้นเป็นหมายเลข 8, 16 หรือ 32 ถ้าหากไม่มีคำสั่งบรรทัดนี้ให้พิมพ์เพิ่มลงไป เพื่อเป็นการจองเนื้อที่บัฟเฟอร์ซึ่งปกติใน conventional memory จะใช้ขนาด 4 กิโลไบต์ ในกรณีที่คุณใช้หน่วยความจำแรมตั้งแต่ 8 เมกะไบต์ขึ้นไป ก็น่าจะปรับเปลี่ยนค่าตรงนี้ให้เป็น 8, 16 หรือ 32 ซึ่งที่จริงแล้วอยากให้กำหนดเป็น 32 ไปเลย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องพิจารณาหน่วยความจำภายในเครื่องเป็นตัวประกอบด้วย

2. แก้ไขใน Control Panel

วิธีนี้เป็นการเพิ่มความเร็วในการสลับการทำงานไปมาระหว่างไฟล์ ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยเรียกใช้ Control Panel ที่อยู่ในเมนู Start/Setting จากนั้นก็คลิกที่ไอคอน System ในแถบ Performance ให้คลิกที่ปุ่ม Virtual Memory ...แล้วคลิกในช่อง Let me specify my own virtual memory settings ให้กำหนดค่ามากที่สุด ( maximum ) เท่ากับ 50 และกำหนดค่าน้อยที่สุด ( minimum ) เท่ากับ 50 เช่นกัน จากนั้นก็ทำการบูตเครื่องขึ้นมาใหม่ ในการกำหนดพื้นที่ในฮาร์ดดิสก์ส่วนหนึ่งให้ทำหน้าที่เป็นหน่วยความจำสำรองภายในเครื่อง ผู้ใช้สามารถกำหนดพื้นที่ได้มากกว่านี้ เช่น 100-150 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเนื้อที่ว่างในฮาร์ดดิสก์ และฮาร์ดดิสก์ที่เลือกควรจะเป็นตัวที่สามารถอ่านได้อย่างรวดเร็วจึงจะเสริมประสิทธิภาพการทำงานให้ดียิ่งขึ้น
โรคท้าวแสนปม (neurofibromatosis

เป็นโรคผิวหนังเป็นปม เป็นติ่งงอกตามตัวเต็มไปหมดนับเป็นพัน ๆ หมื่น ๆ แสน ปม จึงเป็นที่มาของชื่อโรคนี้ โรคนี้เป็นโรคทางพันธุกรรมถ่ายทอดไปโดยยีนเด่น หลายความว่าคนเป็นโรคนี้จะมีลักษณะของยีนที่เป็น homoygous dominant และ heterozygous ที่จะแสดงอาการของโรคนี้

ลักษณะผิวหนังจะพบว่ามีติ่งผิวหนัง มีปมมีตุ่มเต็มไปทั่วร่างกายจำนวนร้อย ๆ ขนาด ติ่งมีตั้งแต่ขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียวไปจนถึงก้อนเนื้อใหญ่ ๆ น้ำหนักอาจหนักถึง 2-3 กิโลกรัมก็มี ส่วนหนึ่งที่ไม่มีติ่งงอกขึ้นมา อาจมีสีเข้มขึ้นเป็นหย่อม ๆ ขนาด 2 - 5 เซนติเมตร และมีลักษณะเป็นรูปไข่ บางหย่อมมีสีเข้มมากจนกลายเป็นปานดำและมีขนขึ้นมาเต็มแดงบริเวณรักแร้จะพบจุดดำ ๆ คล้ายตกกระไปหมด

ติ่งหรือปมผิวหนังนี้ปกติมักจะไม่แสดงอะไรนอกจากมีขนาดโตขึ้นทุกวัน แต่บางรายเจ้าที่นิ่ม ๆ นี้อาจกลายเป็นเนื้อร้ายได้ เปอร์เซ็นต์ที่เป็นมีอยู่แค่ 2 - 5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

โรคนี้นอกจากพบความผิดปกติที่ระบบผิวหนังแล้ว ยังมีความผิดปกติที่ระบบประสาท ระบบกล้ามเนื้อ ระบบต่อมไร้ท่อ แลระบบกระดูก

ความผิดปกติอาจพบที่ต่อมไร้ท่อ เช่น ทำให้มือเท้าโตเท่าใบพาย รูปร่างเตี้ย แคระแกร็น ระบบกระดูกอาจเกิดการผุกร่อน ทำให้เกิดอาการหลังค่อม หรือบางครั้งกระดูกถึงกับหักได้ บางรายเป็นโรคปัญญาอ่อน เป็นโรคชัก เป็นเนื้องอกในสมอง